วันจันทร์ที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2551

การผลิตปุ๋ยหมักโดยไส้เดือนดิน Eudrilus eugeniae และ Perionyx excavatus จากการผสม
มูลโคนมและเศษหญ้า
Vermicomposting by Eudrilus eugeniae and Perionyx excavatus from the Mixture
of Cow Dung and Grass Clippings

พันเอกหญิง สมพร คำเครื่อง1 (Colonel Somporn Kumkruang)

บทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตปุ๋ยหมักโดยไส้เดือนดิน Eudrilus eugeniae และ Perionyx excavatus จากการผสมมูลโคนมและเศษหญ้า ในอัตราส่วนผสม 10 : 90, 20 : 80, 30 : 70 และ 40 : 60 ใช้แผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ ทำการทดลอง 3 ซ้ำ ได้ผลดังนี้ อัตราส่วนผสมของมูลโคนมและเศษหญ้าที่แตกต่างกันไม่มีผลต่อประสิทธิภาพการเปลี่ยนวัสดุที่ใช้เลี้ยงเป็นน้ำหนักตัวของไส้เดือนดิน Eudrilus eugeniae แต่มีผลต่อน้ำหนักไส้เดือนดินรวมหลังทดลองและประสิทธิภาพการเปลี่ยนวัสดุที่ใช้เลี้ยงเป็นน้ำหนักตัวของไส้เดือนดิน Perionyx excavatus โดยอัตราส่วนผสม 30 : 70 แตกต่างจากอัตราส่วนอื่นอย่างมีนัยสำคัญ (p <> 0.05) แต่มีผลต่อประสิทธิภาพการเปลี่ยนวัสดุที่ใช้เลี้ยงเป็นน้ำหนักตัวของไส้เดือนดิน Perionyx excavatus (p <> 0.05) แต่จากผลการทดลองพบว่าค่าความเป็นกรดและด่างของทุกหน่วยทดลองมีค่าเพิ่มขึ้น
2.2 ปริมาณอินทรียวัตถุและปริมาณอินทรีย์คาร์บอน
อัตราส่วนผสมของมูลโคนมและเศษหญ้าที่แตกต่างกันไม่มีผลต่อปริมาณอินทรียวัตถุและปริมาณอินทรีย์คาร์บอนของปุ๋ยหมักจากไส้เดือนดิน Eudrilus eugeniae และปุ๋ยหมักจากไส้เดือนดิน Perionyx excavatus (p > 0.05) แต่จากผลการทดลองพบว่าปริมาณอินทรียวัตถุและปริมาณอินทรีย์คาร์บอนของทุกหน่วยทดลองมีค่าลดลง
2.4 ปริมาณไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม
ปุ๋ยหมักจากไส้เดือนดิน Eudrilus eugeniae และปุ๋ยหมักจากไส้เดือนดิน Perionyx excavatus มีปริมาณไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียมเพิ่มขึ้นทุกหน่วยทดลอง
2.5 อัตราส่วนคาร์บอนไนโตรเจน
อัตราส่วนผสมของมูลโคนมและเศษหญ้าที่แตกต่างกันไม่มีผลต่ออัตราส่วนคาร์บอนไนโตรเจนของปุ๋ยหมักจากไส้เดือนดิน Eudrilus eugeniae (p > 0.05) แต่มีผลต่ออัตราส่วนคาร์บอนไนโตรเจนของปุ๋ยหมักจากไส้เดือนดิน Perionyx excavatus อัตราส่วนผสมของมูลโคนมและเศษหญ้า 30 : 70 แตกต่างจากอัตราส่วนผสมอื่น ๆ อย่างมีนัยสำคัญ (p < 0.05) 3. การให้ลูกและการเติบโตของลูกไส้เดือนดิน การศึกษาการให้ลูกและการเจริญของลูกไส้เดือนดินที่เลี้ยงในส่วนผสมของมูลโคนมและเศษหญ้าในครั้งนี้ ได้จากการทดลองเพาะเลี้ยงไส้เดือนดิน Eudrilus eugeniae และ Perionyx excavatus ในส่วนผสมของมูลโคนมและเศษหญ้าอัตราส่วน 40 : 60 ได้ผล ดังนี้ 3.1 Eudrilus eugeniae จำนวนวันจากเริ่มทดลองจนกระทั่งผลิตโคคูน ใช้เวลา 8 – 31 วัน โคคูนที่ผลิตได้มีลักษณะเป็นถุงรูปไข่สีเหลืองอมน้ำตาล ปลายปิดทั้ง 2 ด้าน มีขนาดประมาณ 5 - 7 มิลลิเมตร ระยะเวลาจากโคคูนฟักเป็นลูกสีขาวใช้เวลา 3 - 22 วัน ระยะเวลาจากลูกสีขาวเติบโตเป็นลูกสีแดงใช้เวลา 2 - 12 วัน และระยะเวลาจากลูกสีแดงเติบโตเป็นระยะสมบูรณ์พันธุ์มีไคลเทลลัมใช้เวลา 35 – 54 วัน รวมระยะเวลาตั้งแต่โคคูนจนถึงระยะสมบูรณ์พันธุ์มีไคลเทลลัมใช้เวลาทั้งหมด 40 – 88 วัน 3.2 Perionyx excavatus จำนวนวันจากเริ่มทดลองจนกระทั่งผลิตโคคูนใช้เวลา 10 - 20 วัน โคคูนที่ผลิตได้มีลักษณะเป็นถุงรูปกระสวยสีเหลืองปนน้ำตาล ปลายปิดทั้ง 2 ด้าน มีขนาดประมาณ 4 – 5 มิลลิเมตร ระยะเวลาจากโคคูนฟักเป็นลูกสีขาวใช้เวลา 6 – 34 วัน ระยะเวลาจากลูกสีขาวเติบโตเป็นลูกสีแดงใช้เวลา 2 – 8 วัน และระยะเวลาจากลูกสีแดงเติบโตเป็นระยะสมบูรณ์พันธุ์มีไคลเทลลัมใช้เวลา 38 – 65 วัน รวมระยะเวลาตั้งแต่โคคูนจนถึงระยะสมบูรณ์พันธุ์มีไคลเทลลัมใช้เวลาทั้งหมด 46 – 107 วัน โคคูน 1 ใบ ฟักเป็นลูกสีขาว จำนวน 1 ตัว ตารางที่ 1 ค่าวิเคราะห์ทางเคมีอัตราส่วนผสมของมูลโคนมและเศษหญ้าก่อนและหลังการทดลองด้วย Eudrilus eugeniae และ Perionyx excavatus ค่าทางเคมี อัตราส่วนผสม 10 : 90 20 : 80 30 : 70 40 : 60 ความเป็นกรดและด่าง ก่อนทดลอง หลังทดลองด้วย E. eugeniae หลังทดลองด้วย P. excavatus อินทรียวัตถุ (%) ก่อนทดลอง หลังทดลองด้วย E. eugeniae หลังทดลองด้วย P. excavatus อินทรีย์คาร์บอน (%) ก่อนทดลอง หลังทดลองด้วย E. eugeniae หลังทดลองด้วย P. excavatus ไนโตรเจน (%) ก่อนทดลอง หลังทดลองด้วย E. eugeniae หลังทดลองด้วย P. excavatus ฟอสฟอรัส (%) ก่อนทดลอง หลังทดลองด้วย E. eugeniae หลังทดลองด้วย P. excavatus โพแทสเซียม (%) ก่อนทดลอง หลังทดลองด้วย E. eugeniae หลังทดลองด้วย P. excavatus C / N ratio ก่อนทดลอง หลังทดลองด้วย E. eugeniae หลังทดลองด้วย P. excavatus 7.4 8.167 8.733 50.48 42.033 42.140 29.35 24.440 24.410 2.13 2.256ab 2.280 1.19 2.333 1.597 3.51 4.620 4.400 13.779 10.799 10.695b 7.6 7.933 8.467 46.11 40.450 38.503 26.81 23.520 22.383 2.1 2.330 a 2.250 1.42 2.340 1.777 4.06 5.000 4.137 12.767 10.075 9.92 2ab 7.7 8.167 8.533 46.27 39.020 36.810 26.9 22.683 21.400 2.03 2.080b 2.393 1.56 2.347 1.910 4.6 4.857 4.567 13.251 10.877 8.958a 7.8 8.300 8.667 43.04 36.413 37.453 25.02 21.173 21.773 2.15 2.090b 2.193 1.47 2.467 1.940 4.33 4.580 4.377 11.637 10.123 9.912ab a, b ตัวอักษรกำกับที่ต่างกันในแต่ละแถวแนวนอน แสดงว่ามีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p < 0.05 สรุป 1. อัตราส่วนผสมของมูลโคนมและเศษหญ้าที่เหมาะสมต่อการเติบโตของไส้เดือนดิน อัตราส่วนผสมของมูลโคนมและเศษหญ้าที่แตกต่างกันไม่มีผลต่อน้ำหนักไส้เดือนดินรวมหลังทดลองและประสิทธิภาพการเปลี่ยนวัสดุที่ใช้เลี้ยงเป็นน้ำหนักตัวของไส้เดือนดิน Eudrilus eugeniae แต่มีผลต่อน้ำหนักไส้เดือนดินรวมหลังทดลองและประสิทธิภาพการเปลี่ยนวัสดุที่ใช้เลี้ยงเป็นน้ำหนักตัวของไส้เดือนดิน Perionyx excavatus โดยอัตราส่วน 30 : 70 มีผลต่อน้ำหนักไส้เดือนดินรวมหลังทดลองและประสิทธิภาพการเปลี่ยนวัสดุที่ใช้เลี้ยงเป็นน้ำหนักตัวได้ดีที่สุด อัตราส่วนผสมของมูลโคนมและเศษหญ้าที่แตกต่างกันมีผลต่ออัตราการเปลี่ยนเป็นปุ๋ยหมักของไส้เดือนดิน Eudrilus eugeniae โดยอัตราส่วนผสม 10 : 90, 20 : 80 และ 40:60 มีอัตราการเปลี่ยนเป็นปุ๋ยหมักดีที่สุด คือ 89.733 %, 85.667 % และ 85.218 % ตามลำดับ ซึ่งมากกว่าอัตราส่วน 30 : 70 อัตราส่วนผสมของมูลโคนมและเศษหญ้าที่แตกต่างกันไม่มีผลต่ออัตราการเปลี่ยนเป็นปุ๋ยหมักของไส้เดือนดิน Perionyx excavatus โดยอัตราส่วนผสม 30 : 70 มีอัตราการเปลี่ยนเป็นปุ๋ยหมัก 86.567 % รองลงมาได้แก่อัตราส่วนผสม 20 : 80, 10 : 90 และ 40 : 60 คือ 85.583 %, 85.403% และ 84.980 % ตามลำดับ 2. คุณสมบัติของปุ๋ยหมักจากไส้เดือนดิน คุณสมบัติของปุ๋ยหมักจากไส้เดือนดิน Eudrilus eugeniae และไส้เดือนดิน Perionyx excavatus ซึ่งเลี้ยงในอัตราส่วนผสมของมูลโคนมและเศษหญ้าที่แตกต่างกัน พบว่ามีความเป็นกรดและด่าง ปริมาณไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม เพิ่มขึ้น โดยปริมาณไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม จัดอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานของปุ๋ยหมัก ปริมาณอินทรียวัตถุ ปริมาณอินทรีย์คาร์บอน และอัตราส่วนคาร์บอนไนโตรเจนของปุ๋ยหมักจากไส้เดือนดิน Eudrilus eugeniae และปุ๋ยหมักจากไส้เดือนดิน Perionyx excavatus มีปริมาณลดลง 3. การให้ลูกและการเติบโตของลูกไส้เดือนดิน การทดลองครั้งนี้ศึกษาการให้ลูกและการเจริญของลูกไส้เดือนดินที่เลี้ยงในส่วนผสมของมูลโคนมและเศษหญ้า 40 : 60 สำหรับ Eudrilus eugeniae พบว่าระยะเวลาจากเริ่มทดลองจนกระทั่งผลิตโคคูน ใช้เวลา 8 – 31 วัน ระยะเวลาจากโคคูนฟักเป็นลูกสีขาวใช้เวลา 3 - 22 วันและระยะเวลาจากลูกสีขาวเติบโตเป็นลูกสีแดงใช้เวลา 2 - 12 วัน ระยะเวลาจากลูกสีแดงจนถึงระยะสมบูรณ์พันธุ์ใช้เวลา 35 – 54 วัน รวมระยะเวลาจากโคคูนจนถึงระยะสมบูรณ์พันธุ์ใช้เวลา 40 – 88 วัน สำหรับ Perionyx excavatus พบว่าระยะเวลาจากเริ่มทดลองจนกระทั่งผลิตโคคูน ใช้เวลา 10 – 20 วัน ระยะเวลาจากโคคูนฟักเป็นลูกสีขาวใช้เวลา 6 - 34 วันและระยะเวลาจากลูกสีขาวเติบโตเป็นลูกสีแดงใช้เวลา 2 - 8 วัน ระยะเวลาจากลูกสีแดงจนถึงระยะสมบูรณ์พันธุ์ใช้เวลา 38 – 65 วัน รวมระยะเวลาจากโคคูนจนถึงระยะสมบูรณ์พันธุ์ใช้เวลา 46 – 107 วัน เอกสารอ้างอิง ธงชัย มาลา. 2546. ปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยชีวภาพ : เทคนิคการผลิตและการใช้ประโยชน์. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ , กรุงเทพ ฯ. Jorge , D ., C.A. . Edwards and A . John . 2001 . The Biology and Population Dynamics of Eudrilus eugeniae (Kingberg) (Oligochaeta) in Cattle Waste Solids . Pedobiolgia . 45 : 341 -353 . Nagavallemma, KP., SP. Wani, L. Stephane, VV. Padmaja, C. Vinula, R.M. Babu and KL. Sahrawat. 2004. Vermicomposting : Recycling Wastes into Valuable Organic Fertilizer. Andhra Pradesh, India. Suthar, S. 2006. Potential Utilization of Guargum Industrial Waste in Vermicompost Production. Biores. Technol 97(18) : 2474 – 2477. Suthar, S. 2007 . Nutrient Changes and Biodynamics of Epigenic Earthworm Perionyx excavatus (Perrier) During Recycling of Some Agriculture Waste. Bioresource Technol. 98 (8) : 1608 – 1614.

ไม่มีความคิดเห็น: