วันจันทร์ที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2551

อ้วนหรือยังเนี่ยะ
พ.อ. หญิง สมพร คำเครื่อง

ปิดเทอมมาหลายเดือน อาจารย์หลายท่านคงได้พักผ่อนนอนหลับกันเต็มที่ มีเวลาให้ร่างกายและสมองอันเหนื่อยล้าได้หยุดพักบ้างเพื่อต้อนรับกับเทศกาลเปิดเทอมซึ่งกำลังมาถึง แต่ความกังวลบางอย่างก็คืบคลานเข้ามา หลายท่านอาจรู้สึกว่าตัวเองอ้วนขึ้นหรือเปล่า การมองดูด้วยสายตาอาจทำให้เกิดความผิดพลาดได้ การวินิจฉัยโรคอ้วนทำได้หลายวิธี แต่ที่นิยมใช้ปฏิบัติเพราะเป็นวิธีที่ง่ายและสะดวก คือ
1. การหาน้ำหนักที่ควรจะเป็น โดยใช้ส่วนสูงมีหน่วยเป็นเซนติเมตรลบด้วยตัวเลขที่คงที่ ตามสูตรดังนี้
น้ำหนักที่ควรจะเป็นในเพศชาย = ความสูง – 100
น้ำหนักที่ควรจะเป็นในเพศหญิง = (ความสูง - 100) - (ร้อยละ 10 ของน้ำหนักที่ลบได้)
ตัวอย่าง นาย ก. สูง 160 เซนติเมตร น้ำหนักที่ควรจะเป็น = 160 – 100 = 60 กิโลกรัม
น.ส. ข. สูง 160 เซนติเมตร น้ำหนักที่ควรจะเป็น = (160 - 100) – (60 x 10/100) = 54 กิโลกรัม
วิธีนี้เป็นการคำนวณหาน้ำหนักอย่างคร่าว ๆ น้ำหนักที่ได้อาจคลาดเคลื่อนขึ้นอยู่กับโครงสร้างของร่างกายแต่ละบุคคล
2. การใช้ดัชนีความหนาของร่างกายหรือดัชนีมวลกาย (Body mass index : BMI) นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายเนื่องจากคำนวณได้ง่าย ใช้สำหรับคนอายุ 18 ปี ขึ้นไป เป็นดัชนีที่บอกถึงการสะสมไขมันในร่างกาย ใช้ประเมินภาวะขาดสารอาหารและโรคอ้วนได้ ค่าดัชนีมวลกายคำนวณได้จากสูตรดังนี้
ดัชนีมวลกาย ( BMI ) = น้ำหนัก /(ส่วนสูง)2 กิโลกรัม / เมตร2
ค่าปกติดัชนีมวลกาย ดังแสดงในตารางที่ 1
อย่างไรก็ตาม การใช้ดัชนีมวลกายในการประเมินภาวะโภชนาการเพียงอย่างเดียว อาจทำให้การแปลผลผิดไป เนื่องจากมีข้อจำกัดในการใช้ คือ นักกีฬาที่ได้รับการฝึกฝนมาอย่างดีจะมีปริมาณกล้ามเนื้อในร่างกายมาก ค่าดัชนีมวลกายจะสูงแต่ไม่อ้วน ในคนที่รูปร่างเตี้ยหรือสูงผิดปกติ คนที่มีช่วงขายาว จะมีค่าดัชนีมวลกายต่ำ ซึ่งไม่ขึ้นกับปริมาณไขมัน ปริมาณไขมันในเพศหญิงจะมีมากกว่าปริมาณไขมันในเพศชาย เมื่อมีอายุมากขึ้นซึ่งจะต้องใช้วิธีประเมินวิธีอื่นร่วมด้วย













3. การวัดไขมันใต้ผิวหนัง ที่บริเวณกึ่งกลางด้านหลังของต้นแขนซึ่งเรียกว่า Triceps skinfold thickness และที่บริเวณหลังใต้กระดูกสะบักซึ่งเรียกว่า Subscapular skinfold thickness โรคอ้วนในคนอายุ 30 – 50 ปี ให้พิจารณาตามเกณฑ์ดังแสดงในตารางที่ 2









4. การหาอัตราส่วนระหว่างเส้นรอบเอวต่อเส้นรอบสะโพก (WHR) ในเพศชาย ถ้าค่า WHR มากกว่า 1.0 แสดงว่าอ้วนแบบชาย (Android obesity , Male type obesity) หรืออ้วนลงพุง คือ คนอ้วนที่มีไขมันพอกพูนบริเวณหน้าอก ไหล่ แขน ไขมันของอวัยวะในช่องท้อง และไขมันใต้ผิวหนังหน้าท้องมากกว่าปกติ ในเพศหญิง ถ้าค่า WHR มากกว่า 0.8 แสดงว่าอ้วนแบบหญิง (Gynoid obesity , Female type obesity) คือ คนอ้วนที่มีไขมันพอกพูนมากบริเวณช่วงล่างของท้อง สะโพก และต้นขา
โรคอ้วนทั้ง 2 แบบ เป็นได้ทั้งเพศชายหรือเพศหญิง ถ้ามีลักษณะอ้วนแบบชายแล้ว มักมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจขาดเลือด โรคหัวใจวาย โรคเบาหวาน โรคนิ่วในถุงน้ำดี ได้สูงกว่าคนที่อ้วนแบบหญิง


……………………………………………………………

ไม่มีความคิดเห็น: