วันจันทร์ที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2551

พื้นนที่สีเขียวคืออะไร?



พื้นที่สีเขียว หมายถึง พื้นที่กลางแจ้ง และกึ่งกลางแจ้งที่มีขอบเขตที่ดินทั้งหมดหรือบางส่วนปกคลุมด้วยพืชพรรณที่ปลูกบนดินที่ซึมน้ำได้ โดยที่ดินนั้นอาจมีสิ่งปลูกสร้างหรือพื้นผิวแข็งไม่ซึมน้ำรวมอยู่หรือไม่ก็ได้ หมายรวมถึงพื้นที่สีเขียวในเขตเมืองและนอกเมือง อาจเป็นพื้นที่สาธารณะหรือเอกชน ที่สาธารณชนสามารถใช้ประโยชน์ ประกอบด้วยพื้นที่สีเขียวเพื่อนันทนาการ และความงามทางภูมิทัศน์ พื้นที่อรรถประโยชน์ เช่น พื้นที่เกษตรกรรมและพื้นที่สาธารณูปการ พื้นที่แนวกันชน พื้นที่สีเขียวในสถาบันต่างๆ พื้นที่ธรรมชาติและกึ่งธรรมชาติอันเป็นถิ่นที่อยู่ของสิ่งมีชีวิต ได้แก่ พื้นที่ป่าไม้ พื้นที่ชุ่มน้ำ รวมถึงพื้นที่ชายหาด พื้นที่ริมน้ำ พื้นที่ที่เป็นริ้วยาวตามแนวเส้นทางคมนาคม ทางบก ทางน้ำ และแนวสาธารณูปปารต่างๆ หรือพื้นที่อื่นๆ เช่น พื้นที่สีเขียวที่ปล่อยรกร้าง พื้นที่สีเขียวที่ถูกรบกวนสภาพธรรมชาติ และพื้นที่สีเขียวที่มีการใช้ประโยชน์ผสมผสานกัน







ความสำคัญและประโยชน์ของพื้นที่สีเขียว



1. ช่วยบรรเทาปัญหาภาวะโลกร้อน
2. เพื่อเป็นแหล่งนันทนาการ และสถานที่พักผ่อนหย่อนใจของคนในชุมชนทุกเพศทุกวัย
3. พืชพรรณในพื้นที่สีเขียวช่วยลดอุณหภูมิของเมืองที่เกิดจากการพัฒนาสิ่งก่อสร้างในเมือง
4. เป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของ นก ปลา แมลง และสัตว์อื่นๆ เป็นทางสีเขียวเชื่อมโยงแหล่งที่อยู่อาศัยเข้าด้วยกัน และ ช่วยป้องกันการกัดเซาะพังทลายของดิน ช่วยปรับปรุงระบบการระบายน้ำ
5. ช่วยลดเสียงรบกวนลงได้ โดยอาศัยพุ่มใบที่หนาทึบ่ของไม้ยืนต้น และไม้พุ่มช่วยดูดซํบมลภาวะทางเสียง
6. เป็นสิ่งเชื่อมโยงผู้คนให้ได้สัมผัสกับธรรมชาติอย่างใกล้ชิด ทำให้เป็นเมือง/ ชุมชนน่าอยู่อย่างยั่งยืน

ที่มา : คู่มือการพัฒนาพื้นที่สีเขียว.สำนักนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
อ้วนหรือยังเนี่ยะ
พ.อ. หญิง สมพร คำเครื่อง

ปิดเทอมมาหลายเดือน อาจารย์หลายท่านคงได้พักผ่อนนอนหลับกันเต็มที่ มีเวลาให้ร่างกายและสมองอันเหนื่อยล้าได้หยุดพักบ้างเพื่อต้อนรับกับเทศกาลเปิดเทอมซึ่งกำลังมาถึง แต่ความกังวลบางอย่างก็คืบคลานเข้ามา หลายท่านอาจรู้สึกว่าตัวเองอ้วนขึ้นหรือเปล่า การมองดูด้วยสายตาอาจทำให้เกิดความผิดพลาดได้ การวินิจฉัยโรคอ้วนทำได้หลายวิธี แต่ที่นิยมใช้ปฏิบัติเพราะเป็นวิธีที่ง่ายและสะดวก คือ
1. การหาน้ำหนักที่ควรจะเป็น โดยใช้ส่วนสูงมีหน่วยเป็นเซนติเมตรลบด้วยตัวเลขที่คงที่ ตามสูตรดังนี้
น้ำหนักที่ควรจะเป็นในเพศชาย = ความสูง – 100
น้ำหนักที่ควรจะเป็นในเพศหญิง = (ความสูง - 100) - (ร้อยละ 10 ของน้ำหนักที่ลบได้)
ตัวอย่าง นาย ก. สูง 160 เซนติเมตร น้ำหนักที่ควรจะเป็น = 160 – 100 = 60 กิโลกรัม
น.ส. ข. สูง 160 เซนติเมตร น้ำหนักที่ควรจะเป็น = (160 - 100) – (60 x 10/100) = 54 กิโลกรัม
วิธีนี้เป็นการคำนวณหาน้ำหนักอย่างคร่าว ๆ น้ำหนักที่ได้อาจคลาดเคลื่อนขึ้นอยู่กับโครงสร้างของร่างกายแต่ละบุคคล
2. การใช้ดัชนีความหนาของร่างกายหรือดัชนีมวลกาย (Body mass index : BMI) นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายเนื่องจากคำนวณได้ง่าย ใช้สำหรับคนอายุ 18 ปี ขึ้นไป เป็นดัชนีที่บอกถึงการสะสมไขมันในร่างกาย ใช้ประเมินภาวะขาดสารอาหารและโรคอ้วนได้ ค่าดัชนีมวลกายคำนวณได้จากสูตรดังนี้
ดัชนีมวลกาย ( BMI ) = น้ำหนัก /(ส่วนสูง)2 กิโลกรัม / เมตร2
ค่าปกติดัชนีมวลกาย ดังแสดงในตารางที่ 1
อย่างไรก็ตาม การใช้ดัชนีมวลกายในการประเมินภาวะโภชนาการเพียงอย่างเดียว อาจทำให้การแปลผลผิดไป เนื่องจากมีข้อจำกัดในการใช้ คือ นักกีฬาที่ได้รับการฝึกฝนมาอย่างดีจะมีปริมาณกล้ามเนื้อในร่างกายมาก ค่าดัชนีมวลกายจะสูงแต่ไม่อ้วน ในคนที่รูปร่างเตี้ยหรือสูงผิดปกติ คนที่มีช่วงขายาว จะมีค่าดัชนีมวลกายต่ำ ซึ่งไม่ขึ้นกับปริมาณไขมัน ปริมาณไขมันในเพศหญิงจะมีมากกว่าปริมาณไขมันในเพศชาย เมื่อมีอายุมากขึ้นซึ่งจะต้องใช้วิธีประเมินวิธีอื่นร่วมด้วย













3. การวัดไขมันใต้ผิวหนัง ที่บริเวณกึ่งกลางด้านหลังของต้นแขนซึ่งเรียกว่า Triceps skinfold thickness และที่บริเวณหลังใต้กระดูกสะบักซึ่งเรียกว่า Subscapular skinfold thickness โรคอ้วนในคนอายุ 30 – 50 ปี ให้พิจารณาตามเกณฑ์ดังแสดงในตารางที่ 2









4. การหาอัตราส่วนระหว่างเส้นรอบเอวต่อเส้นรอบสะโพก (WHR) ในเพศชาย ถ้าค่า WHR มากกว่า 1.0 แสดงว่าอ้วนแบบชาย (Android obesity , Male type obesity) หรืออ้วนลงพุง คือ คนอ้วนที่มีไขมันพอกพูนบริเวณหน้าอก ไหล่ แขน ไขมันของอวัยวะในช่องท้อง และไขมันใต้ผิวหนังหน้าท้องมากกว่าปกติ ในเพศหญิง ถ้าค่า WHR มากกว่า 0.8 แสดงว่าอ้วนแบบหญิง (Gynoid obesity , Female type obesity) คือ คนอ้วนที่มีไขมันพอกพูนมากบริเวณช่วงล่างของท้อง สะโพก และต้นขา
โรคอ้วนทั้ง 2 แบบ เป็นได้ทั้งเพศชายหรือเพศหญิง ถ้ามีลักษณะอ้วนแบบชายแล้ว มักมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจขาดเลือด โรคหัวใจวาย โรคเบาหวาน โรคนิ่วในถุงน้ำดี ได้สูงกว่าคนที่อ้วนแบบหญิง


……………………………………………………………
การผลิตปุ๋ยหมักโดยไส้เดือนดิน Eudrilus eugeniae และ Perionyx excavatus จากการผสม
มูลโคนมและเศษหญ้า
Vermicomposting by Eudrilus eugeniae and Perionyx excavatus from the Mixture
of Cow Dung and Grass Clippings

พันเอกหญิง สมพร คำเครื่อง1 (Colonel Somporn Kumkruang)

บทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตปุ๋ยหมักโดยไส้เดือนดิน Eudrilus eugeniae และ Perionyx excavatus จากการผสมมูลโคนมและเศษหญ้า ในอัตราส่วนผสม 10 : 90, 20 : 80, 30 : 70 และ 40 : 60 ใช้แผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ ทำการทดลอง 3 ซ้ำ ได้ผลดังนี้ อัตราส่วนผสมของมูลโคนมและเศษหญ้าที่แตกต่างกันไม่มีผลต่อประสิทธิภาพการเปลี่ยนวัสดุที่ใช้เลี้ยงเป็นน้ำหนักตัวของไส้เดือนดิน Eudrilus eugeniae แต่มีผลต่อน้ำหนักไส้เดือนดินรวมหลังทดลองและประสิทธิภาพการเปลี่ยนวัสดุที่ใช้เลี้ยงเป็นน้ำหนักตัวของไส้เดือนดิน Perionyx excavatus โดยอัตราส่วนผสม 30 : 70 แตกต่างจากอัตราส่วนอื่นอย่างมีนัยสำคัญ (p <> 0.05) แต่มีผลต่อประสิทธิภาพการเปลี่ยนวัสดุที่ใช้เลี้ยงเป็นน้ำหนักตัวของไส้เดือนดิน Perionyx excavatus (p <> 0.05) แต่จากผลการทดลองพบว่าค่าความเป็นกรดและด่างของทุกหน่วยทดลองมีค่าเพิ่มขึ้น
2.2 ปริมาณอินทรียวัตถุและปริมาณอินทรีย์คาร์บอน
อัตราส่วนผสมของมูลโคนมและเศษหญ้าที่แตกต่างกันไม่มีผลต่อปริมาณอินทรียวัตถุและปริมาณอินทรีย์คาร์บอนของปุ๋ยหมักจากไส้เดือนดิน Eudrilus eugeniae และปุ๋ยหมักจากไส้เดือนดิน Perionyx excavatus (p > 0.05) แต่จากผลการทดลองพบว่าปริมาณอินทรียวัตถุและปริมาณอินทรีย์คาร์บอนของทุกหน่วยทดลองมีค่าลดลง
2.4 ปริมาณไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม
ปุ๋ยหมักจากไส้เดือนดิน Eudrilus eugeniae และปุ๋ยหมักจากไส้เดือนดิน Perionyx excavatus มีปริมาณไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียมเพิ่มขึ้นทุกหน่วยทดลอง
2.5 อัตราส่วนคาร์บอนไนโตรเจน
อัตราส่วนผสมของมูลโคนมและเศษหญ้าที่แตกต่างกันไม่มีผลต่ออัตราส่วนคาร์บอนไนโตรเจนของปุ๋ยหมักจากไส้เดือนดิน Eudrilus eugeniae (p > 0.05) แต่มีผลต่ออัตราส่วนคาร์บอนไนโตรเจนของปุ๋ยหมักจากไส้เดือนดิน Perionyx excavatus อัตราส่วนผสมของมูลโคนมและเศษหญ้า 30 : 70 แตกต่างจากอัตราส่วนผสมอื่น ๆ อย่างมีนัยสำคัญ (p < 0.05) 3. การให้ลูกและการเติบโตของลูกไส้เดือนดิน การศึกษาการให้ลูกและการเจริญของลูกไส้เดือนดินที่เลี้ยงในส่วนผสมของมูลโคนมและเศษหญ้าในครั้งนี้ ได้จากการทดลองเพาะเลี้ยงไส้เดือนดิน Eudrilus eugeniae และ Perionyx excavatus ในส่วนผสมของมูลโคนมและเศษหญ้าอัตราส่วน 40 : 60 ได้ผล ดังนี้ 3.1 Eudrilus eugeniae จำนวนวันจากเริ่มทดลองจนกระทั่งผลิตโคคูน ใช้เวลา 8 – 31 วัน โคคูนที่ผลิตได้มีลักษณะเป็นถุงรูปไข่สีเหลืองอมน้ำตาล ปลายปิดทั้ง 2 ด้าน มีขนาดประมาณ 5 - 7 มิลลิเมตร ระยะเวลาจากโคคูนฟักเป็นลูกสีขาวใช้เวลา 3 - 22 วัน ระยะเวลาจากลูกสีขาวเติบโตเป็นลูกสีแดงใช้เวลา 2 - 12 วัน และระยะเวลาจากลูกสีแดงเติบโตเป็นระยะสมบูรณ์พันธุ์มีไคลเทลลัมใช้เวลา 35 – 54 วัน รวมระยะเวลาตั้งแต่โคคูนจนถึงระยะสมบูรณ์พันธุ์มีไคลเทลลัมใช้เวลาทั้งหมด 40 – 88 วัน 3.2 Perionyx excavatus จำนวนวันจากเริ่มทดลองจนกระทั่งผลิตโคคูนใช้เวลา 10 - 20 วัน โคคูนที่ผลิตได้มีลักษณะเป็นถุงรูปกระสวยสีเหลืองปนน้ำตาล ปลายปิดทั้ง 2 ด้าน มีขนาดประมาณ 4 – 5 มิลลิเมตร ระยะเวลาจากโคคูนฟักเป็นลูกสีขาวใช้เวลา 6 – 34 วัน ระยะเวลาจากลูกสีขาวเติบโตเป็นลูกสีแดงใช้เวลา 2 – 8 วัน และระยะเวลาจากลูกสีแดงเติบโตเป็นระยะสมบูรณ์พันธุ์มีไคลเทลลัมใช้เวลา 38 – 65 วัน รวมระยะเวลาตั้งแต่โคคูนจนถึงระยะสมบูรณ์พันธุ์มีไคลเทลลัมใช้เวลาทั้งหมด 46 – 107 วัน โคคูน 1 ใบ ฟักเป็นลูกสีขาว จำนวน 1 ตัว ตารางที่ 1 ค่าวิเคราะห์ทางเคมีอัตราส่วนผสมของมูลโคนมและเศษหญ้าก่อนและหลังการทดลองด้วย Eudrilus eugeniae และ Perionyx excavatus ค่าทางเคมี อัตราส่วนผสม 10 : 90 20 : 80 30 : 70 40 : 60 ความเป็นกรดและด่าง ก่อนทดลอง หลังทดลองด้วย E. eugeniae หลังทดลองด้วย P. excavatus อินทรียวัตถุ (%) ก่อนทดลอง หลังทดลองด้วย E. eugeniae หลังทดลองด้วย P. excavatus อินทรีย์คาร์บอน (%) ก่อนทดลอง หลังทดลองด้วย E. eugeniae หลังทดลองด้วย P. excavatus ไนโตรเจน (%) ก่อนทดลอง หลังทดลองด้วย E. eugeniae หลังทดลองด้วย P. excavatus ฟอสฟอรัส (%) ก่อนทดลอง หลังทดลองด้วย E. eugeniae หลังทดลองด้วย P. excavatus โพแทสเซียม (%) ก่อนทดลอง หลังทดลองด้วย E. eugeniae หลังทดลองด้วย P. excavatus C / N ratio ก่อนทดลอง หลังทดลองด้วย E. eugeniae หลังทดลองด้วย P. excavatus 7.4 8.167 8.733 50.48 42.033 42.140 29.35 24.440 24.410 2.13 2.256ab 2.280 1.19 2.333 1.597 3.51 4.620 4.400 13.779 10.799 10.695b 7.6 7.933 8.467 46.11 40.450 38.503 26.81 23.520 22.383 2.1 2.330 a 2.250 1.42 2.340 1.777 4.06 5.000 4.137 12.767 10.075 9.92 2ab 7.7 8.167 8.533 46.27 39.020 36.810 26.9 22.683 21.400 2.03 2.080b 2.393 1.56 2.347 1.910 4.6 4.857 4.567 13.251 10.877 8.958a 7.8 8.300 8.667 43.04 36.413 37.453 25.02 21.173 21.773 2.15 2.090b 2.193 1.47 2.467 1.940 4.33 4.580 4.377 11.637 10.123 9.912ab a, b ตัวอักษรกำกับที่ต่างกันในแต่ละแถวแนวนอน แสดงว่ามีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p < 0.05 สรุป 1. อัตราส่วนผสมของมูลโคนมและเศษหญ้าที่เหมาะสมต่อการเติบโตของไส้เดือนดิน อัตราส่วนผสมของมูลโคนมและเศษหญ้าที่แตกต่างกันไม่มีผลต่อน้ำหนักไส้เดือนดินรวมหลังทดลองและประสิทธิภาพการเปลี่ยนวัสดุที่ใช้เลี้ยงเป็นน้ำหนักตัวของไส้เดือนดิน Eudrilus eugeniae แต่มีผลต่อน้ำหนักไส้เดือนดินรวมหลังทดลองและประสิทธิภาพการเปลี่ยนวัสดุที่ใช้เลี้ยงเป็นน้ำหนักตัวของไส้เดือนดิน Perionyx excavatus โดยอัตราส่วน 30 : 70 มีผลต่อน้ำหนักไส้เดือนดินรวมหลังทดลองและประสิทธิภาพการเปลี่ยนวัสดุที่ใช้เลี้ยงเป็นน้ำหนักตัวได้ดีที่สุด อัตราส่วนผสมของมูลโคนมและเศษหญ้าที่แตกต่างกันมีผลต่ออัตราการเปลี่ยนเป็นปุ๋ยหมักของไส้เดือนดิน Eudrilus eugeniae โดยอัตราส่วนผสม 10 : 90, 20 : 80 และ 40:60 มีอัตราการเปลี่ยนเป็นปุ๋ยหมักดีที่สุด คือ 89.733 %, 85.667 % และ 85.218 % ตามลำดับ ซึ่งมากกว่าอัตราส่วน 30 : 70 อัตราส่วนผสมของมูลโคนมและเศษหญ้าที่แตกต่างกันไม่มีผลต่ออัตราการเปลี่ยนเป็นปุ๋ยหมักของไส้เดือนดิน Perionyx excavatus โดยอัตราส่วนผสม 30 : 70 มีอัตราการเปลี่ยนเป็นปุ๋ยหมัก 86.567 % รองลงมาได้แก่อัตราส่วนผสม 20 : 80, 10 : 90 และ 40 : 60 คือ 85.583 %, 85.403% และ 84.980 % ตามลำดับ 2. คุณสมบัติของปุ๋ยหมักจากไส้เดือนดิน คุณสมบัติของปุ๋ยหมักจากไส้เดือนดิน Eudrilus eugeniae และไส้เดือนดิน Perionyx excavatus ซึ่งเลี้ยงในอัตราส่วนผสมของมูลโคนมและเศษหญ้าที่แตกต่างกัน พบว่ามีความเป็นกรดและด่าง ปริมาณไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม เพิ่มขึ้น โดยปริมาณไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม จัดอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานของปุ๋ยหมัก ปริมาณอินทรียวัตถุ ปริมาณอินทรีย์คาร์บอน และอัตราส่วนคาร์บอนไนโตรเจนของปุ๋ยหมักจากไส้เดือนดิน Eudrilus eugeniae และปุ๋ยหมักจากไส้เดือนดิน Perionyx excavatus มีปริมาณลดลง 3. การให้ลูกและการเติบโตของลูกไส้เดือนดิน การทดลองครั้งนี้ศึกษาการให้ลูกและการเจริญของลูกไส้เดือนดินที่เลี้ยงในส่วนผสมของมูลโคนมและเศษหญ้า 40 : 60 สำหรับ Eudrilus eugeniae พบว่าระยะเวลาจากเริ่มทดลองจนกระทั่งผลิตโคคูน ใช้เวลา 8 – 31 วัน ระยะเวลาจากโคคูนฟักเป็นลูกสีขาวใช้เวลา 3 - 22 วันและระยะเวลาจากลูกสีขาวเติบโตเป็นลูกสีแดงใช้เวลา 2 - 12 วัน ระยะเวลาจากลูกสีแดงจนถึงระยะสมบูรณ์พันธุ์ใช้เวลา 35 – 54 วัน รวมระยะเวลาจากโคคูนจนถึงระยะสมบูรณ์พันธุ์ใช้เวลา 40 – 88 วัน สำหรับ Perionyx excavatus พบว่าระยะเวลาจากเริ่มทดลองจนกระทั่งผลิตโคคูน ใช้เวลา 10 – 20 วัน ระยะเวลาจากโคคูนฟักเป็นลูกสีขาวใช้เวลา 6 - 34 วันและระยะเวลาจากลูกสีขาวเติบโตเป็นลูกสีแดงใช้เวลา 2 - 8 วัน ระยะเวลาจากลูกสีแดงจนถึงระยะสมบูรณ์พันธุ์ใช้เวลา 38 – 65 วัน รวมระยะเวลาจากโคคูนจนถึงระยะสมบูรณ์พันธุ์ใช้เวลา 46 – 107 วัน เอกสารอ้างอิง ธงชัย มาลา. 2546. ปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยชีวภาพ : เทคนิคการผลิตและการใช้ประโยชน์. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ , กรุงเทพ ฯ. Jorge , D ., C.A. . Edwards and A . John . 2001 . The Biology and Population Dynamics of Eudrilus eugeniae (Kingberg) (Oligochaeta) in Cattle Waste Solids . Pedobiolgia . 45 : 341 -353 . Nagavallemma, KP., SP. Wani, L. Stephane, VV. Padmaja, C. Vinula, R.M. Babu and KL. Sahrawat. 2004. Vermicomposting : Recycling Wastes into Valuable Organic Fertilizer. Andhra Pradesh, India. Suthar, S. 2006. Potential Utilization of Guargum Industrial Waste in Vermicompost Production. Biores. Technol 97(18) : 2474 – 2477. Suthar, S. 2007 . Nutrient Changes and Biodynamics of Epigenic Earthworm Perionyx excavatus (Perrier) During Recycling of Some Agriculture Waste. Bioresource Technol. 98 (8) : 1608 – 1614.