วันจันทร์ที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2551

พื้นนที่สีเขียวคืออะไร?



พื้นที่สีเขียว หมายถึง พื้นที่กลางแจ้ง และกึ่งกลางแจ้งที่มีขอบเขตที่ดินทั้งหมดหรือบางส่วนปกคลุมด้วยพืชพรรณที่ปลูกบนดินที่ซึมน้ำได้ โดยที่ดินนั้นอาจมีสิ่งปลูกสร้างหรือพื้นผิวแข็งไม่ซึมน้ำรวมอยู่หรือไม่ก็ได้ หมายรวมถึงพื้นที่สีเขียวในเขตเมืองและนอกเมือง อาจเป็นพื้นที่สาธารณะหรือเอกชน ที่สาธารณชนสามารถใช้ประโยชน์ ประกอบด้วยพื้นที่สีเขียวเพื่อนันทนาการ และความงามทางภูมิทัศน์ พื้นที่อรรถประโยชน์ เช่น พื้นที่เกษตรกรรมและพื้นที่สาธารณูปการ พื้นที่แนวกันชน พื้นที่สีเขียวในสถาบันต่างๆ พื้นที่ธรรมชาติและกึ่งธรรมชาติอันเป็นถิ่นที่อยู่ของสิ่งมีชีวิต ได้แก่ พื้นที่ป่าไม้ พื้นที่ชุ่มน้ำ รวมถึงพื้นที่ชายหาด พื้นที่ริมน้ำ พื้นที่ที่เป็นริ้วยาวตามแนวเส้นทางคมนาคม ทางบก ทางน้ำ และแนวสาธารณูปปารต่างๆ หรือพื้นที่อื่นๆ เช่น พื้นที่สีเขียวที่ปล่อยรกร้าง พื้นที่สีเขียวที่ถูกรบกวนสภาพธรรมชาติ และพื้นที่สีเขียวที่มีการใช้ประโยชน์ผสมผสานกัน







ความสำคัญและประโยชน์ของพื้นที่สีเขียว



1. ช่วยบรรเทาปัญหาภาวะโลกร้อน
2. เพื่อเป็นแหล่งนันทนาการ และสถานที่พักผ่อนหย่อนใจของคนในชุมชนทุกเพศทุกวัย
3. พืชพรรณในพื้นที่สีเขียวช่วยลดอุณหภูมิของเมืองที่เกิดจากการพัฒนาสิ่งก่อสร้างในเมือง
4. เป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของ นก ปลา แมลง และสัตว์อื่นๆ เป็นทางสีเขียวเชื่อมโยงแหล่งที่อยู่อาศัยเข้าด้วยกัน และ ช่วยป้องกันการกัดเซาะพังทลายของดิน ช่วยปรับปรุงระบบการระบายน้ำ
5. ช่วยลดเสียงรบกวนลงได้ โดยอาศัยพุ่มใบที่หนาทึบ่ของไม้ยืนต้น และไม้พุ่มช่วยดูดซํบมลภาวะทางเสียง
6. เป็นสิ่งเชื่อมโยงผู้คนให้ได้สัมผัสกับธรรมชาติอย่างใกล้ชิด ทำให้เป็นเมือง/ ชุมชนน่าอยู่อย่างยั่งยืน

ที่มา : คู่มือการพัฒนาพื้นที่สีเขียว.สำนักนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
อ้วนหรือยังเนี่ยะ
พ.อ. หญิง สมพร คำเครื่อง

ปิดเทอมมาหลายเดือน อาจารย์หลายท่านคงได้พักผ่อนนอนหลับกันเต็มที่ มีเวลาให้ร่างกายและสมองอันเหนื่อยล้าได้หยุดพักบ้างเพื่อต้อนรับกับเทศกาลเปิดเทอมซึ่งกำลังมาถึง แต่ความกังวลบางอย่างก็คืบคลานเข้ามา หลายท่านอาจรู้สึกว่าตัวเองอ้วนขึ้นหรือเปล่า การมองดูด้วยสายตาอาจทำให้เกิดความผิดพลาดได้ การวินิจฉัยโรคอ้วนทำได้หลายวิธี แต่ที่นิยมใช้ปฏิบัติเพราะเป็นวิธีที่ง่ายและสะดวก คือ
1. การหาน้ำหนักที่ควรจะเป็น โดยใช้ส่วนสูงมีหน่วยเป็นเซนติเมตรลบด้วยตัวเลขที่คงที่ ตามสูตรดังนี้
น้ำหนักที่ควรจะเป็นในเพศชาย = ความสูง – 100
น้ำหนักที่ควรจะเป็นในเพศหญิง = (ความสูง - 100) - (ร้อยละ 10 ของน้ำหนักที่ลบได้)
ตัวอย่าง นาย ก. สูง 160 เซนติเมตร น้ำหนักที่ควรจะเป็น = 160 – 100 = 60 กิโลกรัม
น.ส. ข. สูง 160 เซนติเมตร น้ำหนักที่ควรจะเป็น = (160 - 100) – (60 x 10/100) = 54 กิโลกรัม
วิธีนี้เป็นการคำนวณหาน้ำหนักอย่างคร่าว ๆ น้ำหนักที่ได้อาจคลาดเคลื่อนขึ้นอยู่กับโครงสร้างของร่างกายแต่ละบุคคล
2. การใช้ดัชนีความหนาของร่างกายหรือดัชนีมวลกาย (Body mass index : BMI) นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายเนื่องจากคำนวณได้ง่าย ใช้สำหรับคนอายุ 18 ปี ขึ้นไป เป็นดัชนีที่บอกถึงการสะสมไขมันในร่างกาย ใช้ประเมินภาวะขาดสารอาหารและโรคอ้วนได้ ค่าดัชนีมวลกายคำนวณได้จากสูตรดังนี้
ดัชนีมวลกาย ( BMI ) = น้ำหนัก /(ส่วนสูง)2 กิโลกรัม / เมตร2
ค่าปกติดัชนีมวลกาย ดังแสดงในตารางที่ 1
อย่างไรก็ตาม การใช้ดัชนีมวลกายในการประเมินภาวะโภชนาการเพียงอย่างเดียว อาจทำให้การแปลผลผิดไป เนื่องจากมีข้อจำกัดในการใช้ คือ นักกีฬาที่ได้รับการฝึกฝนมาอย่างดีจะมีปริมาณกล้ามเนื้อในร่างกายมาก ค่าดัชนีมวลกายจะสูงแต่ไม่อ้วน ในคนที่รูปร่างเตี้ยหรือสูงผิดปกติ คนที่มีช่วงขายาว จะมีค่าดัชนีมวลกายต่ำ ซึ่งไม่ขึ้นกับปริมาณไขมัน ปริมาณไขมันในเพศหญิงจะมีมากกว่าปริมาณไขมันในเพศชาย เมื่อมีอายุมากขึ้นซึ่งจะต้องใช้วิธีประเมินวิธีอื่นร่วมด้วย













3. การวัดไขมันใต้ผิวหนัง ที่บริเวณกึ่งกลางด้านหลังของต้นแขนซึ่งเรียกว่า Triceps skinfold thickness และที่บริเวณหลังใต้กระดูกสะบักซึ่งเรียกว่า Subscapular skinfold thickness โรคอ้วนในคนอายุ 30 – 50 ปี ให้พิจารณาตามเกณฑ์ดังแสดงในตารางที่ 2









4. การหาอัตราส่วนระหว่างเส้นรอบเอวต่อเส้นรอบสะโพก (WHR) ในเพศชาย ถ้าค่า WHR มากกว่า 1.0 แสดงว่าอ้วนแบบชาย (Android obesity , Male type obesity) หรืออ้วนลงพุง คือ คนอ้วนที่มีไขมันพอกพูนบริเวณหน้าอก ไหล่ แขน ไขมันของอวัยวะในช่องท้อง และไขมันใต้ผิวหนังหน้าท้องมากกว่าปกติ ในเพศหญิง ถ้าค่า WHR มากกว่า 0.8 แสดงว่าอ้วนแบบหญิง (Gynoid obesity , Female type obesity) คือ คนอ้วนที่มีไขมันพอกพูนมากบริเวณช่วงล่างของท้อง สะโพก และต้นขา
โรคอ้วนทั้ง 2 แบบ เป็นได้ทั้งเพศชายหรือเพศหญิง ถ้ามีลักษณะอ้วนแบบชายแล้ว มักมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจขาดเลือด โรคหัวใจวาย โรคเบาหวาน โรคนิ่วในถุงน้ำดี ได้สูงกว่าคนที่อ้วนแบบหญิง


……………………………………………………………
การผลิตปุ๋ยหมักโดยไส้เดือนดิน Eudrilus eugeniae และ Perionyx excavatus จากการผสม
มูลโคนมและเศษหญ้า
Vermicomposting by Eudrilus eugeniae and Perionyx excavatus from the Mixture
of Cow Dung and Grass Clippings

พันเอกหญิง สมพร คำเครื่อง1 (Colonel Somporn Kumkruang)

บทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตปุ๋ยหมักโดยไส้เดือนดิน Eudrilus eugeniae และ Perionyx excavatus จากการผสมมูลโคนมและเศษหญ้า ในอัตราส่วนผสม 10 : 90, 20 : 80, 30 : 70 และ 40 : 60 ใช้แผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ ทำการทดลอง 3 ซ้ำ ได้ผลดังนี้ อัตราส่วนผสมของมูลโคนมและเศษหญ้าที่แตกต่างกันไม่มีผลต่อประสิทธิภาพการเปลี่ยนวัสดุที่ใช้เลี้ยงเป็นน้ำหนักตัวของไส้เดือนดิน Eudrilus eugeniae แต่มีผลต่อน้ำหนักไส้เดือนดินรวมหลังทดลองและประสิทธิภาพการเปลี่ยนวัสดุที่ใช้เลี้ยงเป็นน้ำหนักตัวของไส้เดือนดิน Perionyx excavatus โดยอัตราส่วนผสม 30 : 70 แตกต่างจากอัตราส่วนอื่นอย่างมีนัยสำคัญ (p <> 0.05) แต่มีผลต่อประสิทธิภาพการเปลี่ยนวัสดุที่ใช้เลี้ยงเป็นน้ำหนักตัวของไส้เดือนดิน Perionyx excavatus (p <> 0.05) แต่จากผลการทดลองพบว่าค่าความเป็นกรดและด่างของทุกหน่วยทดลองมีค่าเพิ่มขึ้น
2.2 ปริมาณอินทรียวัตถุและปริมาณอินทรีย์คาร์บอน
อัตราส่วนผสมของมูลโคนมและเศษหญ้าที่แตกต่างกันไม่มีผลต่อปริมาณอินทรียวัตถุและปริมาณอินทรีย์คาร์บอนของปุ๋ยหมักจากไส้เดือนดิน Eudrilus eugeniae และปุ๋ยหมักจากไส้เดือนดิน Perionyx excavatus (p > 0.05) แต่จากผลการทดลองพบว่าปริมาณอินทรียวัตถุและปริมาณอินทรีย์คาร์บอนของทุกหน่วยทดลองมีค่าลดลง
2.4 ปริมาณไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม
ปุ๋ยหมักจากไส้เดือนดิน Eudrilus eugeniae และปุ๋ยหมักจากไส้เดือนดิน Perionyx excavatus มีปริมาณไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียมเพิ่มขึ้นทุกหน่วยทดลอง
2.5 อัตราส่วนคาร์บอนไนโตรเจน
อัตราส่วนผสมของมูลโคนมและเศษหญ้าที่แตกต่างกันไม่มีผลต่ออัตราส่วนคาร์บอนไนโตรเจนของปุ๋ยหมักจากไส้เดือนดิน Eudrilus eugeniae (p > 0.05) แต่มีผลต่ออัตราส่วนคาร์บอนไนโตรเจนของปุ๋ยหมักจากไส้เดือนดิน Perionyx excavatus อัตราส่วนผสมของมูลโคนมและเศษหญ้า 30 : 70 แตกต่างจากอัตราส่วนผสมอื่น ๆ อย่างมีนัยสำคัญ (p < 0.05) 3. การให้ลูกและการเติบโตของลูกไส้เดือนดิน การศึกษาการให้ลูกและการเจริญของลูกไส้เดือนดินที่เลี้ยงในส่วนผสมของมูลโคนมและเศษหญ้าในครั้งนี้ ได้จากการทดลองเพาะเลี้ยงไส้เดือนดิน Eudrilus eugeniae และ Perionyx excavatus ในส่วนผสมของมูลโคนมและเศษหญ้าอัตราส่วน 40 : 60 ได้ผล ดังนี้ 3.1 Eudrilus eugeniae จำนวนวันจากเริ่มทดลองจนกระทั่งผลิตโคคูน ใช้เวลา 8 – 31 วัน โคคูนที่ผลิตได้มีลักษณะเป็นถุงรูปไข่สีเหลืองอมน้ำตาล ปลายปิดทั้ง 2 ด้าน มีขนาดประมาณ 5 - 7 มิลลิเมตร ระยะเวลาจากโคคูนฟักเป็นลูกสีขาวใช้เวลา 3 - 22 วัน ระยะเวลาจากลูกสีขาวเติบโตเป็นลูกสีแดงใช้เวลา 2 - 12 วัน และระยะเวลาจากลูกสีแดงเติบโตเป็นระยะสมบูรณ์พันธุ์มีไคลเทลลัมใช้เวลา 35 – 54 วัน รวมระยะเวลาตั้งแต่โคคูนจนถึงระยะสมบูรณ์พันธุ์มีไคลเทลลัมใช้เวลาทั้งหมด 40 – 88 วัน 3.2 Perionyx excavatus จำนวนวันจากเริ่มทดลองจนกระทั่งผลิตโคคูนใช้เวลา 10 - 20 วัน โคคูนที่ผลิตได้มีลักษณะเป็นถุงรูปกระสวยสีเหลืองปนน้ำตาล ปลายปิดทั้ง 2 ด้าน มีขนาดประมาณ 4 – 5 มิลลิเมตร ระยะเวลาจากโคคูนฟักเป็นลูกสีขาวใช้เวลา 6 – 34 วัน ระยะเวลาจากลูกสีขาวเติบโตเป็นลูกสีแดงใช้เวลา 2 – 8 วัน และระยะเวลาจากลูกสีแดงเติบโตเป็นระยะสมบูรณ์พันธุ์มีไคลเทลลัมใช้เวลา 38 – 65 วัน รวมระยะเวลาตั้งแต่โคคูนจนถึงระยะสมบูรณ์พันธุ์มีไคลเทลลัมใช้เวลาทั้งหมด 46 – 107 วัน โคคูน 1 ใบ ฟักเป็นลูกสีขาว จำนวน 1 ตัว ตารางที่ 1 ค่าวิเคราะห์ทางเคมีอัตราส่วนผสมของมูลโคนมและเศษหญ้าก่อนและหลังการทดลองด้วย Eudrilus eugeniae และ Perionyx excavatus ค่าทางเคมี อัตราส่วนผสม 10 : 90 20 : 80 30 : 70 40 : 60 ความเป็นกรดและด่าง ก่อนทดลอง หลังทดลองด้วย E. eugeniae หลังทดลองด้วย P. excavatus อินทรียวัตถุ (%) ก่อนทดลอง หลังทดลองด้วย E. eugeniae หลังทดลองด้วย P. excavatus อินทรีย์คาร์บอน (%) ก่อนทดลอง หลังทดลองด้วย E. eugeniae หลังทดลองด้วย P. excavatus ไนโตรเจน (%) ก่อนทดลอง หลังทดลองด้วย E. eugeniae หลังทดลองด้วย P. excavatus ฟอสฟอรัส (%) ก่อนทดลอง หลังทดลองด้วย E. eugeniae หลังทดลองด้วย P. excavatus โพแทสเซียม (%) ก่อนทดลอง หลังทดลองด้วย E. eugeniae หลังทดลองด้วย P. excavatus C / N ratio ก่อนทดลอง หลังทดลองด้วย E. eugeniae หลังทดลองด้วย P. excavatus 7.4 8.167 8.733 50.48 42.033 42.140 29.35 24.440 24.410 2.13 2.256ab 2.280 1.19 2.333 1.597 3.51 4.620 4.400 13.779 10.799 10.695b 7.6 7.933 8.467 46.11 40.450 38.503 26.81 23.520 22.383 2.1 2.330 a 2.250 1.42 2.340 1.777 4.06 5.000 4.137 12.767 10.075 9.92 2ab 7.7 8.167 8.533 46.27 39.020 36.810 26.9 22.683 21.400 2.03 2.080b 2.393 1.56 2.347 1.910 4.6 4.857 4.567 13.251 10.877 8.958a 7.8 8.300 8.667 43.04 36.413 37.453 25.02 21.173 21.773 2.15 2.090b 2.193 1.47 2.467 1.940 4.33 4.580 4.377 11.637 10.123 9.912ab a, b ตัวอักษรกำกับที่ต่างกันในแต่ละแถวแนวนอน แสดงว่ามีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p < 0.05 สรุป 1. อัตราส่วนผสมของมูลโคนมและเศษหญ้าที่เหมาะสมต่อการเติบโตของไส้เดือนดิน อัตราส่วนผสมของมูลโคนมและเศษหญ้าที่แตกต่างกันไม่มีผลต่อน้ำหนักไส้เดือนดินรวมหลังทดลองและประสิทธิภาพการเปลี่ยนวัสดุที่ใช้เลี้ยงเป็นน้ำหนักตัวของไส้เดือนดิน Eudrilus eugeniae แต่มีผลต่อน้ำหนักไส้เดือนดินรวมหลังทดลองและประสิทธิภาพการเปลี่ยนวัสดุที่ใช้เลี้ยงเป็นน้ำหนักตัวของไส้เดือนดิน Perionyx excavatus โดยอัตราส่วน 30 : 70 มีผลต่อน้ำหนักไส้เดือนดินรวมหลังทดลองและประสิทธิภาพการเปลี่ยนวัสดุที่ใช้เลี้ยงเป็นน้ำหนักตัวได้ดีที่สุด อัตราส่วนผสมของมูลโคนมและเศษหญ้าที่แตกต่างกันมีผลต่ออัตราการเปลี่ยนเป็นปุ๋ยหมักของไส้เดือนดิน Eudrilus eugeniae โดยอัตราส่วนผสม 10 : 90, 20 : 80 และ 40:60 มีอัตราการเปลี่ยนเป็นปุ๋ยหมักดีที่สุด คือ 89.733 %, 85.667 % และ 85.218 % ตามลำดับ ซึ่งมากกว่าอัตราส่วน 30 : 70 อัตราส่วนผสมของมูลโคนมและเศษหญ้าที่แตกต่างกันไม่มีผลต่ออัตราการเปลี่ยนเป็นปุ๋ยหมักของไส้เดือนดิน Perionyx excavatus โดยอัตราส่วนผสม 30 : 70 มีอัตราการเปลี่ยนเป็นปุ๋ยหมัก 86.567 % รองลงมาได้แก่อัตราส่วนผสม 20 : 80, 10 : 90 และ 40 : 60 คือ 85.583 %, 85.403% และ 84.980 % ตามลำดับ 2. คุณสมบัติของปุ๋ยหมักจากไส้เดือนดิน คุณสมบัติของปุ๋ยหมักจากไส้เดือนดิน Eudrilus eugeniae และไส้เดือนดิน Perionyx excavatus ซึ่งเลี้ยงในอัตราส่วนผสมของมูลโคนมและเศษหญ้าที่แตกต่างกัน พบว่ามีความเป็นกรดและด่าง ปริมาณไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม เพิ่มขึ้น โดยปริมาณไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม จัดอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานของปุ๋ยหมัก ปริมาณอินทรียวัตถุ ปริมาณอินทรีย์คาร์บอน และอัตราส่วนคาร์บอนไนโตรเจนของปุ๋ยหมักจากไส้เดือนดิน Eudrilus eugeniae และปุ๋ยหมักจากไส้เดือนดิน Perionyx excavatus มีปริมาณลดลง 3. การให้ลูกและการเติบโตของลูกไส้เดือนดิน การทดลองครั้งนี้ศึกษาการให้ลูกและการเจริญของลูกไส้เดือนดินที่เลี้ยงในส่วนผสมของมูลโคนมและเศษหญ้า 40 : 60 สำหรับ Eudrilus eugeniae พบว่าระยะเวลาจากเริ่มทดลองจนกระทั่งผลิตโคคูน ใช้เวลา 8 – 31 วัน ระยะเวลาจากโคคูนฟักเป็นลูกสีขาวใช้เวลา 3 - 22 วันและระยะเวลาจากลูกสีขาวเติบโตเป็นลูกสีแดงใช้เวลา 2 - 12 วัน ระยะเวลาจากลูกสีแดงจนถึงระยะสมบูรณ์พันธุ์ใช้เวลา 35 – 54 วัน รวมระยะเวลาจากโคคูนจนถึงระยะสมบูรณ์พันธุ์ใช้เวลา 40 – 88 วัน สำหรับ Perionyx excavatus พบว่าระยะเวลาจากเริ่มทดลองจนกระทั่งผลิตโคคูน ใช้เวลา 10 – 20 วัน ระยะเวลาจากโคคูนฟักเป็นลูกสีขาวใช้เวลา 6 - 34 วันและระยะเวลาจากลูกสีขาวเติบโตเป็นลูกสีแดงใช้เวลา 2 - 8 วัน ระยะเวลาจากลูกสีแดงจนถึงระยะสมบูรณ์พันธุ์ใช้เวลา 38 – 65 วัน รวมระยะเวลาจากโคคูนจนถึงระยะสมบูรณ์พันธุ์ใช้เวลา 46 – 107 วัน เอกสารอ้างอิง ธงชัย มาลา. 2546. ปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยชีวภาพ : เทคนิคการผลิตและการใช้ประโยชน์. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ , กรุงเทพ ฯ. Jorge , D ., C.A. . Edwards and A . John . 2001 . The Biology and Population Dynamics of Eudrilus eugeniae (Kingberg) (Oligochaeta) in Cattle Waste Solids . Pedobiolgia . 45 : 341 -353 . Nagavallemma, KP., SP. Wani, L. Stephane, VV. Padmaja, C. Vinula, R.M. Babu and KL. Sahrawat. 2004. Vermicomposting : Recycling Wastes into Valuable Organic Fertilizer. Andhra Pradesh, India. Suthar, S. 2006. Potential Utilization of Guargum Industrial Waste in Vermicompost Production. Biores. Technol 97(18) : 2474 – 2477. Suthar, S. 2007 . Nutrient Changes and Biodynamics of Epigenic Earthworm Perionyx excavatus (Perrier) During Recycling of Some Agriculture Waste. Bioresource Technol. 98 (8) : 1608 – 1614.

วันอาทิตย์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2551

ไฟฟ้าพลังต้นกล้วย ช่วยรักษ์ธรรมชาติ


โดยผลงานวิจัยและคิดค้นของนางสาวบุญช่วย ชาญประโคน อาจารย์จากโรงเรียนนวมินทราชินูทิศเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า พร้อมด้วยคณะอีก 2 คน นายชาญวิทย์ ตั้งสิริวรกุล นักศึกษาจากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ และนายเฉลิมชาติ มานพ จากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ผลงานวิจัยที่ได้มีชื่อผลงานว่า กรรมวิธีการทำให้เกิดพลังงานไฟฟ้า โดยใช้ของเหลวที่ได้จากต้นกล้วยเป็นสารละลายอิเล็กโทรไลต์
นางบุญช่วย กล่าวว่า การสร้างพลังงานไฟฟ้าที่เกิดจากการใช้ของเหลวที่ได้จากต้นกล้วยเป็นสารละลายอิเล็กโทรไลต์นี้ เกิดขึ้นจากความคิดที่ต้องการจะผลิตสื่อการเรียนการสอนที่แปลกใหม่ เพื่อทำให้ผู้เรียนเกิดความสนใจที่จะเรียนรู้ และจากการเรียนในห้องทดลองนักเรียนจะต้องใช้สารละลายกรด-ด่าง อย่างสารละลายอิเล็กโทรไลต์ คุณสมบัติของสารละลายอิเล็กโทรไลต์ส่วนมากเป็นสารเคมี ซึ่งเป็นกรดอนินทรีย์ มีรสเปรี้ยวและมีฤทธิ์กัดกร่อนเป็นอันตรายต่อชีวิตและร่างกาย และยังมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งสารที่มีคุณสมบัติดังกล่าวนิยมนำมาใช้เป็นสารละลายกรดซัลฟิวริก ที่นิยมใช้กันมาก คือ ใช้ในแบตเตอรี่ แต่ในปัจจุบันสามารถใช้สารละลายที่ได้จากธรรมชาติ เช่น กรดแอซิติก กรดมะนาว ซึ่งเป็นกรดอินทรีย์มาใช้เป็นสารละลายอิเล็กโทรไลต์ได้ แต่ไม่เป็นที่นิยมเนื่องจากราคาค่อนข้างแพงและเสียง่าย
ทางคณะผู้วิจัยจึงได้แนวคิดที่จะหาสารที่มีอยู่ในธรรมชาติ ซึ่งคณะผู้วิจัยได้เลือกจากพืชหลายชนิด และพบว่ากล้วย เป็นพืชท้องถิ่นที่หาได้ง่าย ผลมีรสฝาด ซึ่งเป็นคุณสมบัติของสารประเภทด่างๆ ที่สามารถนำไฟฟ้าและนำมาเป็นสารละลายอิเล็กโทรไลต์ได้ และกล้วยยังเป็นพืชที่มีอยู่เป็นจำนวนมากมีอยู่ทุกภาคของประเทศ ราคาไม่แพง สามารถที่จะทำสารละลายได้เป็นจำนวนมากและได้สารละลายอิเล็กโทรไลต์ที่ราคาไม่แพง และยังเป็นการช่วยชาวไร่ที่ปลูกกล้วยให้มีรายได้อีกด้วย ถ้ามีการผลิตเป็นจำนวนมากในการทดแทนกรดซัลฟิวริกที่ใช้ในแบตเตอรี่
สำหรับส่วนที่นำมาใช้เพื่อทำสารละลายอิเล็กโทรไลต์นั้นสามารถเลือกใช้ทุกส่วนของกล้วยได้ไม่ว่าจะเป็น ราก ลำต้นสดและเน่า ดอกกล้วย ผลดิบ ผลสุก แต่จากผลการทดลองพบว่าของเหลวที่ได้จากลำต้นกล้วยจะให้ค่าต่างๆ ได้สูงกว่าของเหลวที่ได้จากส่วนอื่นของต้นกล้วย และข้อดีอีกอย่างหนึ่งคือปริมาณของของเหลวที่ได้จากลำต้นจะมากกว่าส่วนอื่นของกล้วย โดยของเหลวจากลำต้นกล้วยนี้ได้มาจากการนำลำต้นกล้วยเน่า ซึ่งเป็นการเน่าตามธรรมชาติโดยไม่ได้คำนึงถึงระยะเวลา และนำต้นกล้วยเหล่านั้นมาบดให้ละเอียดด้วยการตำหรือปั่น กรองด้วยผ้าขาวบาง
หลังจากได้ของเหลวจากต้นกล้วย นำไปกลั่นโดยใช้เครื่อง Evaportor เมื่อนำของเหลวที่สกัดได้มาใช้เป็นสารละลายอิเล็กโทรไลต์ในแบตเตอรี่จำลอง ขนาดแรงดัน 1.5 โวลต์ จ่ายไฟให้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ พบว่าสามารถใช้งานได้เป็นอย่างดี จากการทดลองมีการนำมาทดลองใช้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ต้องการไฟขนาด 1.5 โวลต์ ได้แก่ เกมกด เครื่องคิดเลข เครื่องเสียงขนาดย่อม ของเล่นเด็ก เป็นต้น ซึ่งเครื่องใช้ไฟฟ้าดังกล่าวสามารถใช้งานได้เป็นอย่างดี
นางบุญช่วย กล่าวต่อว่า จากการทดลองพบว่าของเหลวที่ได้จากต้นกล้วย ทำให้ได้สารละลายอิเล็กโทรไลต์ชนิดใหม่ที่ปลอดภัย ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม ไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย จัดเตรียมได้ง่าย เนื่องจากกล้วยเป็นพืชเศรษฐกิจของไทยที่มีอยู่มากมาย และยังสามารถนำไปใช้เป็นสื่อการสอนที่ดี และรวมถึงเป็นแหล่งพลังงานไฟฟ้าที่สะอาด ที่สามารถนำไปใช้ได้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผลงานการประดิษฐ์คิดค้นนี้ ได้รับรางวัลชมเชย รางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้น ประจำปี 2546 จากสภาวิจัยแห่งชาติ ทั้งนี้ ทางทีมวิจัย คาดหวังว่าผู้ประกอบการที่ต้องใช้สารเคมี เช่น กรดซัลฟิวริก ให้หันมาใช้พลังงานไฟฟ้าที่เกิดจากการใช้ของเหลวที่ได้จากต้นกล้วยเป็นสารละลายอิเล็กโทรไลต์ เพราะเป็นพลังงานจากธรรมชาติ ที่สามารถใช้ทดแทนกันได้และคุณสมบัติใกล้เคียงกัน และราคาถูกกว่ามาก และไม่เป็นอันตรายต่อผู้นำไปใช้และไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม จากสรุปผลทดลอง จะพบว่าพลังงานไฟฟ้าที่เกิดจากการใช้ของเหลวที่ได้จากต้นกล้วยเป็นสารละลายอิเล็กโทรไลต์ สามารถนำมาใช้ทดแทนสารเคมี เช่น กรดซัลฟิวริกได้ และจากการทดลองดังกล่าวทำให้ทราบว่าของเหลวที่ได้จากลำต้นกล้วยเน่าด้วยวิธีการกรองจะได้ค่าพลังงานไฟฟ้าได้มากที่สุด และค่าพลังงานไฟฟ้าดังกล่าวจะให้ค่าพลังงานไฟฟ้าได้มากขึ้น ด้วยการต่อแบบหลายเซลล์ และจากการทดลองได้จำลองเป็นแบตเตอรี่เพื่อประยุกต์ใช้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดย่อม ซึ่งสามารถใช้งานได้ดีและถ้ามีการใช้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดใหญ่ก็น่าจะทำได้ดีเช่นกัน แต่อย่างไรก็ตาม สำหรับการทดลองเปรียบเทียบกับสารละลายกรดซัลฟิวริก สิ่งหนึ่งที่อาจจะทำให้เกิดความคลาดเคลื่อนคือการเปรียบเทียบในหน่วยที่ต่างกัน โดยสารละลายกรดซัลฟิวริกจะมีหน่วยเป็น โมล/ลิตร ส่วนของเหลวที่ได้จากต้นกล้วยจะเทียบเป็นความเข้มข้น 100%
ที่มา: หนังสือพิมพ์ Thaipost 27 มค. 2546.

เถ้าลอยขยะโรงไฟฟ้า นวัตถกรรมสร้างประโยชน์


การก่อสร้างอาคาร ท่าเรือในพื้นที่ใกล้ทะเลหรือติดทะเลจะพบว่าสิ่งก่อสร้างริมทะเลจะมีลักษณะการแตกของเนื้อปูน หรือสีของสนิมที่ซึมออกมาจากเหล็กที่ใช้เป็นโครงสร้างภายในคอนกรีตนั้น ซึ่งความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับเนื้อคอนกรีตและเนื้อเหล็กนี้ ล้วนมีผลต่อโครงสร้างและทำให้อายุขัยของอาคารหรือสิ่งก่อสร้างนั้นสั้นกว่าปกติมาก สาเหตุหนึ่งที่ทำให้คอนกรีตเหล่านี้มีอายุสั้นลงมีคำอธิบายจาก รศ.ดร.พิชัย นิมิตยงกุล จากสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเซียว่าสาเหตุสำคัญ 2 ประการ คือ เนื้อคอนกรีตถูกกัดกร่อนโดยความเค็มจากเหลือคลอไรด์ และสารประกอบซัลเฟต ที่มากับลมทะเลหรือสัมผัสกับน้ำทะเลโดยตรงและการที่ความชื้นจากภายนอกสามารถแทรกผ่านเนื้อคอนกรีตไปทำให้เหล็กเกิดสนิมได้ “แม้ว่าดูภายนอกคอนกรีตเป็นเสาหรือผนังทึบ แต่จริงๆ คอนกรีตที่เกิดจากกการผสมของปูนซีเมนต์ หิน และทราบ โดยมีน้ำนั้น ภายในเนื้อคอนกรีตยังมีช่องว่างขนาดเล็กอยู่ ทั้งนี้เพราะเมื่อคอนกรีตเริ่มแข็งตัวจะมีน้ำจำนวนหนึ่งระเหยออกไป ทำให้เกิดช่องว่างระหว่างเนื้อของคอนกรีตขึ้นโดยที่เนื้อของปูนซิเมนต์ไม่สามารถแทรกเข้าไปในช่องว่างนี้ได้หมดเนื่องจากตัวของมันมีขนาดใหญ่เกินไปและมีรูปทรงเป็นเหลี่ยมค่อนข้างมาก ช่องว่างเหล่านี้อากาศหรือน้ำสามารถแทรกตัวเข้ามาได้ ซึ่งบริเวณชายทะเลจะมีสารประกอบซัลเฟตและคลอไรด์ปนอยู่ในปริมาณสูง สารทั้งสองชนิดจะทำให้เนื้อปูนซิเมนต์แตกเป็นผงเล็กๆ ขณะเดียวกันจะทำให้เหล็กที่เป็นโครงสร้างหลักภายในเกิดเป็นสนิมและขยายตัวจนดันให้คอนกรีตรอบนอกแตกออก สุดท้ายก็ทำให้โครงสร้างนั้นหมดสภาพการใช้งานไปอย่างรวดเร็ว” ปัญหาการเสื่อมสภาพของสิ่งก่อสร้างริมทะเล กำลังเป็นปัญหาในแง่เศรษฐกิจให้กับภาคเอกชนและภาครัฐอย่างต่อเนื่อง เพราะในการแก้ปัญหาด้วยการซ่อมแซมก็จะมีค่าใช้จ่ายที่ไม่มีที่สิ้นสุด ขณะเดียวกันการสร้างโดยใช้ปูนชนิดพิเศษก็จะทำให้ต้นทุนสูงมาก สำรวจโลกสิ่งแวดล้อมได้คำตอบว่าการใช้เถ้าลอย หรือเถ้าถ่านหิน มาผสมกับปูนซิเมนต์ สำหรับหล่อคอนกรีตเพื่อก่อสร้างอาคารริมทะเล รศ.ดร.พิชัย ขยายข้อข้องใจว่า “จริงๆ แล้วเถ้าลอยคือของเหลือใช้จากขบวนการเผาถ่านหิน และขณะนี้แหล่งเถ้าลอยที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยคือโรงไฟฟ้าแม่เมาะ เถ้าลอยเป็นขยะตัวหนึ่งที่นำไปทิ้งไว้ด้านหลังโรงไฟฟ้าปีละนับล้านๆ ตัน แต่ขณะนี้มีการวิจัยยืนยันได้ว่าเถ้าลอยเหล่านี้สามารถนำมาใช้ในอุตสาหกรรมก่อสร้างเพื่อเสริมแทนการใช้ปูนซิเมนต์ได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะกับงานคอนกรีตเพื่อทนการกัดกร่อนทั้งหลาย” จากแนวความคิดการนำขยะเถ้าลอยมาใช้ประโยชน์ กลุ่มพัฒนาการใช้ประโยชน์เถ้าลอยลิกไนต์ไทย ซึ่งประกอบด้วยการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และนักวิจัยจากหลายสถาบันการศึกษารวม13 ท่าน จึงได้มีการศึกษาคุณสมบัติของเถ้าลอยในด้านต่างๆ เพื่อทำให้ของเหลือใช้นี้กลายเป็นของมีค่าให้จงได้ โดย รศ.ดร.ชัย จาตุรพิทักษ์กุล จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ซึ่งหนึ่งในทีมนี้ ได้ทำการศึกษาถึงความทนทานต่อการกัดกร่อนของคอนกรีตที่ใช้เถ้าลอยเป็นส่วนผสม และพบว่าเถ้าลอยสามารถช่วยให้คอนกรีตทนต่อความเค็มและซัลเฟตได้ดีขึ้นเป็นอย่างมาก “เนื่องจากเถ้าลอยจากโรงไฟฟ้าแม่เมาะมีขนาดค่อนข้างเล็ก และมีรูปทรงกลม หากผสมเถ้าลอยไปในการผสมคอนกรีต ช่องว่างของเนื้อคอนกรีตจะถูกเติมเต็มด้วยเม็ดเถ้าลอย จนทำให้เนื้อของคอนกรีตแน่นขึ้น ซึ่งนอกจากมีผลให้คอนกรีตแท่งนั้นทนต่อแรงอัดได้ดีขึ้นแล้ว ความชื้นและอากาศจะแทรกเข้าไปได้ยากมาก และป้องกันเนื้อปูนและเหล็กที่อยู่ภายในไม่ให้ถูกทำลายจากความเค็ม อันทำให้คอนกรีตที่ผสมเถ้าลอยสามารถทนต่อความเค็มและกัดกร่อนจากสารเคมีได้ดีกว่าคอนกรีตปกติมาก” ทีมสำรวจสิ่งแวดล้อม ยังพบว่าคุณสมบัติที่ช่วยให้คอนกรีตทนความเค็มและการกัดกร่อนได้แล้วเถ้าลอย ยังมีจุดประเด่นอื่นๆ เช่น ทำให้คอนกรีตทนแรงอัดได้ดีขึ้น หรือเนื้อคอนกรีตมีความสามารถในการไหลดีกว่าเดิม ทำให้เถ้าลอยถูกนำไปใช้ในสิ่งก่อสร้างอื่นๆ อีกมากมาย ตั้งแต่เขื่อนคลองท่าด่าน ที่เป็นเขื่อนบดอัดยาวที่สุดในโลก หรือฐานรากของรถไฟฟ้าใต้ดิน และขณะนี้สิ่งที่เคยถูกทิ้งเป็นขยะของโรงไฟฟ้าแม่เมาะ ได้กลายเป็นสินค้าขายดีที่ต้องสั่งซื้อเข้ามา

ที่มา: หนังสือพิมพ์ สยามรัฐ 21 มค. 2546.

วันพุธที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

สมบัติของสิ่งแวดล้อม

มาทำความเข้าใจในภาพกว้างก่อนนะครับ ว่า สมบัติเฉพาะของสิ่งแวดล้อมมีอะไรบ้างเพื่อที่จะทำให้เรามีความเข้าใจเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในเรื่องของสิ่งแวดล้อม เพราะเรื่องของสิ่งแวดล้อมนั้น เป็นเรื่องที่มองอย่างผิวเผินแล้วเราอาจคิดว่า อะไรก็ได้ทั้งนั้น แต่ความจริงแล้วถ้าแยกแยะให้ดี สิ่งแวดล้อมนั้นสามารถมีความแตกต่างทางคุณสมบัติเฉพาะตัวของมันเอง ได้หลายอย่าง มาดูกันครับว่ามีอะไรบ้าง

1.มีเอกลักษณ์เฉพาะ
2.ไม่อยู่โดดเดี่ยว
3.ต้องการสิ่งอื่นเสมอ
4.มีความเกี่ยวเนื่องกันกับสิ่งอื่นที่หลากหลาย
5.มีความเปราะบาง-ทนทานต่างกันทั้งเวลา อายุ สถานที่
6.อยู่เป็นร่วมกันอย่างผสมกลมกลืนเป็นระบบนิเวศ/ระบบสิ่งแวดล้อมที่มีสมบัติและพฤติกรรมเฉพาะตัว
7.เปลี่ยนแปลงจากสภาพหนึ่งไปสู่สภาพหนึ่งเสมอ

ลองไปนึกๆ ดูเป็นข้อๆ ไปก่อนนะครับ ว่ามันเป็นยังไงกัน

มาดูข้อแรกกันครับ
สิ่งแวดล้อมแต่ละประเภท มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวในการแสดงให้เห็นว่าสิ่งนั้นเป็นสิ่งแวดล้อมเฉพาะตัว










ลืมบอกไปครับว่า สิ่งแวดล้อมนั้นถ้าจะมองให้ง่าย เราต้องมองว่า
1. มันต้องมีโครงสร้าง หรือองค์ประกอบ
2. มันต้องมีบทบาท หรือหน้าที่ นะครับ

ตัวอย่างของต้นไม้ในรูปข้างบนน่าจะทำให้มองภาพในเข้าใจมากขึ้น ว่า โครงสร้าง
ของมันจะมีลำต้น และใบ ส่วนหน้าที่ มีมากมายที่เดียวครับ
ก่อนจะไปข้อต่อไปเกริ่นไว้ก่อนนิดนึงว่า สิ่งแวดล้อมแต่ละประเภทไม่เคยอยู่โดดเดี่ยวนะครับ
อย่างเช่น ต้นไม้ก็ต้องการน้ำ เพื่อเป็นตัวลำเลียงสารอาหารในดินนะครับ และต้นไม้ก็จะคาย
ออกซิเจนสู่บรรยากาศ ซึ่งเป็นกระบวนการร่วมของการเกิดน้ำต่อไปตามวัฏจักรของน้ำ






ตามมาด้วยข้อ 2 3 และ 4 กันครับ สิ่งแวดล้อมจะไม่อยู่โดดเดี่ยวและต้องการหรืออาศัยสิ่งอื่นเสมอ
มีความเกี่ยวเนื่องสิ่งอื่นที่หลากหลาย ดัง 2 รูปต่อไปนี้ครับ















ในรูปแรกนั้นมี สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ ได้แก่ มหาสมุทร และสิ่งแวดล้อมทางชีวภาพก็คือปลา ในทำนองเดียวกันรูปถัดมาได้แก่ บ้านที่อยู่อาศัย และมนุษย์ จะเห็นได้ว่า สิ่งแวดล้อมเหล่านี้ต่างก็มีโครงสร้างและหน้าที่เฉาพาะในตัวของมันเอง ปลาจะอยู่ไม่ได้ถ้าขาดน้ำทะเล สิ่งมีชีวิตอื่นในทะเลก็ต้องการสิ่งมีชิวิตอื่นเพื่อสร้างความสัมพันธ์ก่อเกิดเป็นระบบนิเวศ มนุษย์จำเป็นต้องมีที่พักหลับนอน หุงหาอาหาร ป้องกันมลภาวะจากภายนอก ส่วนบ้านก็ได้รับการดูแลซ่อมแซม และทำความสอาดครับ อาจกล่าวได้ว่าในโลกนี้อะไรก็ตามไม่น่าที่จะมีทางอยู่อย่างโดดเดี่ยวได้ คล้ายๆ กับธาตุ ดิน น้ำ ลม ไฟ ในร่างกายของคนเรา ถ้าไม่สมดุลอย่างเหมาะสม ก็จะทำให้เราไม่สบายได้นะครับ

ระบบนิเวศหรือระบบสิ่งแวดล้อม นั้นจะประกอบด้วยสิ่งแวดล้อมย่อยๆ มาอยู่รวมกันพึ่งพากัน เกิดป็นลักษณะเฉพาะตัว ตัวอย่างเช่น ป่าชายเลน ชุมชนแออัด เป็นต้น ซึ่งแต่ละระบบสิ่งแวดล้อมก็จะมีหน้าที่ภายในของแต่ละสิ่งแวดล้อม แสดงออกร่วมกัน ทำให้เกิดสิ่งที่เด่นเป็นเอกลักษณ์ของแต่ละระบบสิ่งแวดล้อมนั้นๆ

สุดท้ายสิ่งแวดล้อม มีความเปราะบางทนทานที่แตกต่างกัน ตามเวลา อายุ และสถานที่ นะครับ หมายถึงว่า สิ่งต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นสัตว์สิ่งของ มนุษย์ ย่อมมีวันเปลี่ยนแปลงสภาพไปเป็นอย่างอื่นๆ เสมอ แม้แต่โบราณสถานอายุเป็นพันปี ก็ยังเปลี่ยนสภาพครับ

----------------------------------------------------------------------------------------------

นิยามความหมายของสิ่งแวดล้อม

ที่มา: เกษม จันทร์แก้ว

ถ้าคิดกันอย่างง่ายๆ นะครับจะได้ว่า “สิ่งแวดล้อม หมายถึง สิ่งต่างๆที่อยู่รอบตัวเรา” แต่
มีผู้ให้นิยามไว้หลากหลายทีเดียว จะขอยกตัวอย่างที่สำคัญแค่ 2 นิยามครับ

นิยามสิ่งแวดล้อมทางกฏหมาย ตาม
พ.ร.บ. ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535
จะหมายถึง “สิ่งต่างๆที่มีลักษณะทางกายภาพและชีวภาพที่อยู่รอบตัวมนุษย์
ซึ่งเกิดขึ้นโดยธรรมชาติและมนุษย์ได้ทำขึ้น”


และนิยาม สิ่งแวดล้อมทางวิชาการ จะหมายถึง
“ สิ่งต่างๆที่มีลักษณะกายภาพ ชีวภาพและสังคมที่อยู่รอบตัวมนุษย์
ซึ่งเกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติและมนุษย์ได้ทำขึ้น ”